top of page
ค้นหา

ทำไม? เราถึงใช้เครื่องเคาะปอด

อัปเดตเมื่อ 11 ม.ค.



การสั่นปอด( Chest Vibrator) เป็นวิธีหนึ่งช่วยร่อนระบายเสมหะที่คั่งค้างให้หลุดออกจากผนังถุงลมและหลอดลมส่วนปลาย เพื่อเคลื่อนตัวมาหลอดลมส่วนต้นได้ง่ายขึ้น ลดภาวะปอดอักเสบและลดความเสี่ยงจากการเข้าโรงพยาบาล นอกจากนี้ช่วยลดความตึงตัวและกระตุ้นกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงทำงานได้ดีขึ้น

ทั้งนี้สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันเสมหะคั่งค้างในปอดส่วนลึกและผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ปอดทำงานดีขึ้น ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ในปัจจุบันจึงนิยมใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดแรงสั่นคือ เครื่องสั่นปอด (chest vibrator) สามารถทดแทนการใช้มือของผู้รักษาได้



เครื่องสั่นปอดเยอรมัน

รุ่น Professional 3D

ข้อบ่งชี้

  1. ผู้ป่วยติดเตียง อัมพาต ผู้ป่วยนอนพักฟื้นเกิน 7 วัน มักมีเสมหะคั่งค้าง เหนียว ไอออกยาก ทำ 2 ครั้งต่อวัน

  2. ผู้ที่เสี่ยงเสมหะคั่งค้าง เช่น ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวน้อย ไอมีเสมหะ เสมหะเหนียว ทำวัน 1 ครั้ง

  3. ผู้สูงอายุทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกล้ามเนื้อหายใจและขยายช่องอก ทำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

ข้อห้าม

  1. มีแผลเปิดผิวหนังอักเสบ บริเวณอกหรือหลัง

  2. ไอเป็นเลือด

  3. กระดูกซี่โครงหักแล้วร้าว

ข้อควรระวัง

  1. ผู้ป่วยมีภาวะกระดูกบาง

  2. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ เช่น สมอง ช่องอก

  3. ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะรุนแรง อัตราการเต้นหัวใจผิดจังหวะมาก



วิธีการสั่นปอด

  1. หาตำแหน่งปอด โดยผู้ป่วยนอนตะแคง ปอดจะอยู่เหนือชายโครงประมาณหนึ่งฝ่ามือ

  2. ใช้ผ้าขนหนูรองเพื่อเพิ่มความนุ่มนวลรอง 1-2 ชั้น ถ้ารูปร่างผอมบางอาจจะรอง 3 ชั้นได้

  3. เริ่มวางเครื่องสั่นที่หลังส่วนล่างแล้วค่อยๆเลื่อนขึ้นมาหลังส่วนบน ทำซ้ำประมาณ 2-3 นาทีและเลื่อนมายังข้างลำตัวใต้รักแร้เริ่มจากส่วนล่างค่อยๆเลื่อนมาส่วนบน ทำซ้ำ 1-2 นาที อีกวิธีสำหรับมีเสมหะคั่งค้างบริเวณเนื้อปอด คือวางเครื่องค้างไว้ 30 วินาที มี 3 ตำแหน่งหลังส่วนล่างกับส่วนบนและใต้รักแร้ ทำสลับกันประมาณ 5 นาที

  4. สลับทำอีกข้าง

หมายเหตุ

  1. ระหว่างสั่นปอดหายใจยาวๆ ช่วยให้เสมหะมาออกส่วนต้นได้ง่าย

  2. ถ้าผู้ป่วยไอเหมือนเสมหะจะออกให้รีบดูดเสมหะก่อน


ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องเคาะปอดThrive 717w จีนกับญี่ปุ่น



ดู 31 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page