เครื่อง “CPAP (Continuous Positive Airway Pressure)” เป็นวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในการบรรเทาอาการนอนกรน ในปัจจุบัน ช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น ซึ่งการนอนกรนทำให้เสี่ยงต่อการหยุดหายใจชั่วขณะนอนหลับได้ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
ในบทความนี้จะช่วยแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่อง CPAP อย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้คุณทำการใช้ CPAP ได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง
การทำงานเครื่อง CPAP แบบอัตโนมัติ
โดยปกติเครื่อง CPAP แบบอัตโนมัติ จะปรับแรงดันสูงขึ้นค่อนข้างเร็วเมื่อ detect เจอภาวะหยุดหายใจ แต่เมื่อผู้ใช้กลับมาหายใจเป็นปกติแล้วเครื่องจะไม่ลดแรงดันลมทันที แต่จะคอยดูให้แน่ใจว่าผู้ใช้หายใจเป็นปกติแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงค่อยๆปรับแรงดันลม ทั้งนี้เพื่อให้แรงดันเสมอและไม่ขึ้นๆลงๆมากเกินไป ในเครื่อง CPAP มีความพิเศษคือสามารถปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ละเอียดมากกว่า คือ
สามารถตั้งค่าแรงดันได้ 3 ระดับ ยกตัวอย่างเช่น
ตั้งค่าแรงดันเริ่มต้นที่ 4 cmH2O ค่าแรงดันสูงสุดที่ 12 cmH2O และค่าแรงดันรักษา (Treatment Pressure) ที่ 8 cmH2O เป็นต้น เครื่องจะวิ่งอยู่ที่แรงดันระหว่าง 4-8 cmH2O เป็นหลัก จะวิ่งเกิน 8 cmH2O ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น และเมื่อแรงดันวิ่งอยู่ระหว่าง 8-12 cmH2O จะอยู่ไม่นานเมื่อผู้ใช้หายใจเป็นปกติก็จะลดแรงดันลงอย่างรวดเร็ว มากกว่าตอนที่แรงดันอยู่ระหว่าง 4-8 cmH2O
สามารถตั้งความไวในการ detect ภาวะหยุดหายใจได้ (Sensitivity) ถ้าเราตั้งความไวให้มากขึ้น แรงดันก็จะตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของการหายใจเราเร็วขึ้น
เราควรตรวจ Sleep Test ก่อนหรือไม่
เนื่องจาก เครื่อง CPAP จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจากการนอนหลับโดยเฉพาะ (Sleep Specialist) ซึ่งกรณีส่วนใหญ่ แพทย์จะส่งต่อให้ท่านไปทำการตรวจ Sleep test ก่อน ทั้งนี้เพื่อเหตุผลสำคัญดังนั้นจะได้ข้อมูลต่างๆ ในการวิเคราะห์ และวินิจฉัย เพื่อแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมกับท่านเพื่อหาระดับอาการก่อนการรักษาใช้เป็นตัววัดความคืบหน้าของการรักษา
ตรวจ Sleep test ที่ไหนดี
การตรวจการนอนหลับสามารถตรวจได้ทั้งที่โรงพยาบาล และ ศูนย์ตรวจการนอนหลับ โดยเราจะต้องไปนอนตรวจตอนกลางคืนที่สถานที่นั้นๆ (ยกเว้นแต่ผู้ที่ติดนิสัยนอนตอนกลางวัน เช่น คนที่ทำงานตอนกลางคืน จะสามารถตรวจตอนกลางวันได้)
ผลที่ได้จากการตรวจจะได้รับการแปลผลและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ และมีความรุนแรงระดับไหน สามารถใช้ค่าที่ได้จากการตรวจในการวางแผนการรักษาและติดตามการรักษา เช่น ใช้ในการปรับแรงดันลมของ เครื่อง CPAP เป็นต้น
โรงพยาบาลของรัฐ สามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วไป ได้ ราคาประมาณ 9,000 – 10,000 บาท หากเป็นข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ และรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าตรวจตาม กรมบัญชีกลางได้ 7,000 บาท ส่วนสิทธิประกันสังคมสามารถเบิก ได้ตามสิทธิ์ที่โรงพยาบาลที่เราทำประกันตน
โรงพยาบาลเอกชน ราคาจะสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ แต่สะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน ราคาประมาณ 12,000 – 25,000 บาท
ศูนย์ตรวจการนอนหลับ ตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ โดยเฉพาะ ไม่ต้องรอคิวนาน ราคาประมาณ 9,900 – 12,000 บาท
เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ของประกันสังคม
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริหารทางการแพทย์
ผู้ประกันตนตามมาตรา 38 และมตรา 41 จะได้รับสิทธฺเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริหารทางการแพทย์ และได้สิทธิรับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน ตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
การตรวจการนอนหลับยังสามารถตรวจที่บ้านได้ เรียกว่า home sleep test การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายหรือเดินทางได้ลำบาก หรือในผู้ที่ไม่อยากนอนตรวจในสถานที่ที่ไม่คุ้นชิน การตรวจ sleep test จะมีการตรวจวัดค่าที่น้อยลง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อตรวจคัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นหลักจึงไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของการนอนหลับชนิดอื่นๆได้
อ้างอิง
ข้อดีของการใช้ CPAP ในระยะยาว
เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ที่อาจเกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยหากท่านติดตามดูแลการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะมีความเสี่ยงในการรักษาน้อยมาก
การเลือกหน้ากาก CPAP ที่เหมาะสม
ควรหน้ากากให้เหมาะกับรูปใบหน้าและสรีระ เราจะมีโอกาสเลือกชนิดของหน้ากากให้เข้าได้กับรูปใบหน้าหรือท่านอนได้ เพื่อให้ใส่หน้ากากนอนได้สบายและลมไม่รั่วออกจากหน้ากากขณะนอนหลับ การเลือกหน้ากาก CPAP เหมาะสมเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้การใช้ CPAP มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายที่สุด
ประเภทของหน้ากากหลักๆ มี 3 รูปแบบ
หน้ากากแบบครอบทั้งปากและจมูก (Full Face Mask) เหมาะสำหรับผู้ที่หายใจทางปากหรือมีปัญหาในการหายใจทางจมูก.
หน้ากากจมูก (Nasal Mask) ใช้งานง่ายที่สุด และไม่ค่อยเกิดลมรั่ว
หน้ากากแบบสอดจมูก (Pillow Mask ) ข้อดีคือหน้ากากแบบนี้จะมีความรู้สึกสบายในการใช้งานมากที่สุด อึดอัดน้อยที่สุด เนื่องจากไม่มีส่วนที่กดทับกับใบหน้าของเราหรือมีน้อยมาก ส่วนข้อเสียคือมักเกิดลมรั่วได้ง่าย โดยเฉพาะที่แรงดันลมสูงๆ และบางท่านอาจรู้สึกระคายเคืองบริเวณปลายรูจมูก
Comments